อากาศยาน ของ การูดาอินโดนีเซีย เที่ยวบินที่ 152

ภายในห้องนักบินของเครื่องบินแอร์บัส เอ300บี4 เอฟเอฟซีซี แม้ว่าจะถูกปรับให้เหมาะสำหรับบินโดยนักบินสองคน แต่ห้องนักบินแบบเอฟเอฟซีซีไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเดียวกับแอร์บัส เอ300-600

เครื่องบินลำที่เกิดเหตุเป็นเครื่องบินแอร์บัส เอ300บี4 เอฟเอฟซีซี หรือ "forward-facing crew concept" ทะเบียน PK-GAI เครื่องบินรุ่นเอฟเอฟซีซีเป็นรุ่นที่ปรับแต่งห้องนักบินโดยตัดที่นั่งของวิศวกรประจำเที่ยวบินออก และอุปกรณ์ควบคุมซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของวิศวกรประจำเที่ยวบินเดิมถูกจัดเรียงด้านบนของนักบินแทน ซึ่งทำให้ลดจำนวนนักบินภายในห้องนักบินจากสามเหลือสองคน การจัดเรียงอุปกรณ์ควบคุมนี้คล้ายกับเครื่องบินแอร์บัส เอ310 เพียงแต่ว่าอุปกรณ์บนแผงควบคุมของรุ่นเอฟเอฟซีซียังคงเป็นแบบแอนะล็อกเช่นเดียวกับรุ่นเอ300 ดั้งเดิม รุ่นเอฟเอฟซีซีนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นแอร์บัส เอ300-600 ซึ่งอุปกรณ์แผงควบคุมเปลี่ยนไปให้เหมือนกับในแอร์บัส เอ310 รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย นักบินประจำเที่ยวบินที่เกิดเหตุได้รับฝึกให้บินทั้งรุ่นเอฟเอฟซีซีและรุ่นเอ300-600

เครื่องยนต์ที่ใช้ในเครื่องบินที่เกิดเหตุเป็นเครื่องยนต์แพรตต์แอนด์วิตนีย์รุ่น JT9D-59A เครื่องบินลำที่เกิดเหตุขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1982 ใช้งานมาแล้วประมาณ 27,000 ชั่วโมง และมีอายุ 15 ปี ขณะเกิดเหตุ[2][4][5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การูดาอินโดนีเซีย เที่ยวบินที่ 152 http://en.tempo.co/read/news/2013/07/17/056497300/... http://edition.cnn.com/WORLD/9709/26/indonesia.cra... http://www.cnn.com/WORLD/9709/29/indonesia/ http://flightaware.com/live/flight/GIA186 http://www.itnsource.com/shotlist/RTV/1997/09/27/7... http://www.thejakartapost.com/news/2013/07/24/polo... http://knkt.dephub.go.id/knkt/ntsc_aviation/baru/1... http://www.airliners.net/search?aircraftBasicType=... http://aviation-safety.net/database/record.php?id=... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...